วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2559

เรื่องที่ 24 อินทรีย์ 5





อินทรีย์ 5

  • อินทรีย์ 5 คือ ความสามารถหลักทางจิต ห้า ประการ ได้แก่
    • สัทธินทรีย์  คือ ความศรัทธา ในโพธิปักขิยธรรม
    • วิริยินทรีย์  คือ ความเพียร ในสัมมัปปธาน
    • สตินทรีย์  คือ ความระลึกได้ ในสติปัฏฐาน
    • สมาธินทรีย์ คือ ความตั้งมั่น ในญาณปัญญินทรีย์ คือ ความเข้าใจ ในอริยสัจ

เรื่องที่ 23 พละ 5


พละ 5


  • พละ 5 คือ กำลัง ห้า ประการ ได้แก่

    1. ศรัทธาพละ ความเชื่อ กำลังการควบคุมความสงสัย
    2. วิริยะพละ ความเพียร กำลังการควบคุมความเกียจคร้าน
    3. สติพละ ความระลึกได้ กำลังการควบคุมความประมาท การไม่ใส่ใจ ใจลอย ไร้สติ
    4. สมาธิพละ ความตั้งใจมั่น กำลังการควบคุมการวอกแวกเขว่ไขว่ ฟุ้งซ่าน
    5. ปัญญาพละ ความรอบรู้ กำลังการควบคุมเพิกเฉยไม่สนใจ หลงงมงาย

  • พละทั้งห้านี้ เป็นหลักธรรมที่ผู้เจริญวิปัสสนาพึงรู้ 
    • ศรัทธาต้องปรับให้สมดุลกับปัญญา
    • วิริยะต้องปรับให้สมดุลกับสมาธิ 
    • ส่วนสติพึงเจริญให้มาก เนื่องเป็นหลักที่มีสภาวะปรับสมดุล ของจิตภายในตัวเองอยู่แล้ว เป็นหลักธรรมที่คู่กับ อินทรีย์ 5 คือ 
      • ศรัทธินทรีย์ 
      • วิริยินทรีย์ 
      • สตินทรีย์ 
      • สมาธินทรีย์ 
      • ปัญญินทรีย์ 
    • โดยมีความเหมือนความแตกต่างและความเกี่ยวเนื่องคือ 
  • พละ 5 เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นแก่จิตในปัจจุบัน ที่ทำให้เกิดมีขึ้น 
  • ส่วนอินทรีย์ คือพละ 5 ที่สะสมจนตกผลึก เหมือนกับนิสัย หรือสันดาน เช่น
    • ผู้มีสมาธิทรีย์มาก ก็อาจทำสมาธิได้ง่ายกว่าผู้มีน้อยกว่า 
    • ผู้มีปัญญินทรีย์มาก ก็มีปกติเป็นคนฉลาด 
  • พละ 5 อาจเกิดขึ้นได้ดีและสั่งสมเป็นอินทรีย์ได้ไว คือผู้ทีบวชรือประพฤติพรหมจรรย์ และผู้ปฏิบัติโมเนยยะปฏิบัติ

เรื่องที่ 22 สัมมัปปธาน 4




สัมมัปปธาน 4


  • สัมมัปปธาน หรือ สัมมัปปธาน 4 คือ การมุ่งมั่นทำความชอบ มี 4 ประการ

    1. สังวรปทาน คือ เพียรระงับการกระทำอกุศล ไม่ให้เกิดขึ้น ( เพียรระวัง )
    2. ปหานปทาน คือ เพียรละเลิกอกุศลที่กำลังกระทำอยู่ ( เพียรละ )
    3. อนุรักขปทาน คือ เพียรรักษา กุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว ( เพียรรักษา )
    4. ภาวนาปทาน คือ เพียรฝึกฝนบำรุงกุศลธรรม ให้เจริญยิ่งขึ้น ( เพียรเจริญ )

เรื่องที่ 21 นวังคสัตถุศาสน์ 9






นวังคสัตถุศาสน์ 9

        นวังคสัตถุศาสน์ 9 หมายถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดซึ่งแบ่งเป็นส่วนย่อยตามลักษณะที่เหมือนกันได้ 9 อย่าง คือ
  1. สุตตะ ได้แก่ พระสูตรต่างๆ และวินัย
  2. เคยยะ ได้แก่ พระสูตรที่มีคาถาผสม
  3. เวยยากรณะ ได้แก่ ข้อความร้อยแก้วล้วนๆ เช่นอภิธรรมปิฎก
  4. คาถา ได้แก่ ข้อความร้อยกรองที่เป็นคาถาล้วนๆ เช่น ธรรมบท
  5. เถรคาถา อุทาน ได้แก่ ข้อความที่เป็นพุทธอุทาน
  6. อิติวุตตกะ ได้แก่ ข้อความที่ตรัสอุเทศแล้วแสดงนิเทศจบลงด้วยบทสรุป (นิคม)
  7. ชาตกะ ได้แก่ ชาดกทั้งหมด
  8. อัพภูติธรรม ได้แก่ พระสูตรว่าด้วยเรื่องอรรศจรรย์ต่างๆ
  9. เวทัลละ ได้แก่ ข้อความที่ถามตอบกันไปมา
  10. นวังคสัตถุศาสน์ จึงหมายถึง พระพุทธพจน์ หรือ พระธรรมวินัย ก็ได้

เรื่องที่ 20 บารมี 10



บารมี 10

        บารมี 10 หรือ ทศบารมี หรือ บารมี 10 คือ กำลังใจที่ต้องทำให้เต็ม ไม่พร่อง มี 10 อย่าง
      1. ทาน การให้โดยไม่หวังผล
      2. ศีล การรักษาศีลให้เป็นปกติ
      3. เนกขัมมะ การถือบวช
      4. ปัญญา ความรู้
      5. วิริยะ ความเพียร
      6. ขันติ ความอดทนอดกลั้น
      7. สัจจะ ความตั้งใจจริง เอาจริง จริงใจ
      8. อธิษฐาน ความตั้งใจมั่น ไม่เปลี่ยนแปลง
      9. เมตตา ความรักด้วยความปรานี
      10. อุเบกขา ความวางเฉย

เรื่องที่ 19 กถาวัตถุ 10

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กถาวัตถุ 10




กถาวัตถุ 10

  • กถาวัตถุ 10 หมายถึง เรื่องที่ควรพูด เรื่องที่ควรนำมาสนทนากันในหมู่ภิกษุ ได้แก่
    1. อัปปิจฉกถา เรื่องความมักน้อย ถ้อยคำที่ชักชวนให้มีความปรารถนาน้อย
    2. สันตุฏฐิกถา เรื่องความสันโดษ ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสันโดษ ไม่ชอบฟุ้งเฟ้อหรือปรนปรือ
    3. ปวิเวกกถา เรื่องความสงัด ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสงัดกายใจ
    4. อสังสัคคกถา เรื่องความไม่คลุกคลี ถ้อยคำที่ชักนำให้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่
    5. วิริยารัมภกถา เรื่องการปรารภความเพียร ถ้อยคำที่ชักนำให้มุ่งมั่นทำความเพียร
    6. สีลกถา เรื่องศีล ถ้อยคำที่ชักนำให้ตั้งอยู่ในศีล
    7. สมาธิกถา เรื่องสมาธิ ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำจิตมั่น
    8. ปัญญากถา เรื่องปัญญา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญา
    9. วิมุตติกถา เรื่องวิมุตติ ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้พ้นจากกิเลสและความทุกข์
    10. วิมุตติญาณทัสสนกถา เรื่องความรู้ความเห็นในวิมุตติ ถ้อยคำที่ชักนำให้สนใจ และเข้าใจเรื่องความรู้ ความเห็นในภาวะที่หลุดพ้น จากกิเลสและความทุกข์

เรื่องที่ 18 โลกธรรม 8





โลกธรรม 8


        โลกธรรม 8 หมายถึง เรื่องของโลกมีอยู่ประจำกับชีวิตสังคมและโลกของมนุษย์ เป็นความจริงที่ทุกคนต้องประสบด้วยกันทั้งนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม ข้อแตกต่างคือ ใครประสบมาก ประสบน้อย ช้าหรือเร็ว 
  • โลกธรรมแบ่งออกเป็น 8 ชนิด จำแนกออกเป็น 2 ฝ่ายควบคู่กัน และมีความหมายตรงข้ามกัน คือ
โลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์ คือ ฝ่ายที่มนุษย์พอใจมี 4 เรื่อง คือ
    1. ได้ลาภ หมายความว่า ได้ผลประโยชน์ ได้ทรัพย์สินเงินทอง ได้บ้านเรือนหรือที่สวน ไร่นา
    2. ได้ยศ หมายความว่า ได้รับแต่งตั้งให้มีฐานันดรสูงขึ้น ได้ตำแหน่ง ได้อำนาจเป็นใหญ่เป็นโต
    3. ได้รับสรรเสริญ คือ ได้ยิน ได้ฟัง คำสรรเสริญคำชมเชย คำยกยอ
    4. ได้สุข คือ ได้ความสบายกาย สบายใจ ได้ความเบิกบาน ร่าเริง ได้ความบันเทิงใจ
โลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์ คือ ฝ่ายที่มนุษย์ไม่พอใจมี 4 เรื่อง คือ
    1. เสียลาภ หมายความว่า ลาภที่ได้มาแล้วเสียไป
    2. เสื่อมยศ หมายถึง ถูกลดความเป็นใหญ่ ถูกถอดออกจากตำแหน่ง ถูกถอดอำนาจ
    3. ถูกนินทา หมายถึง ถูกตำหนิติเตียนว่าไม่ดี มีใครพูดถึง ความไม่ดีของเราในที่ลับหลังเรียกว่าถูกนินทา
    4. ตกทุกข์ คือ ได้รับความทุกข์ทรมานกายทรมานใจ

เรื่องที่ 17 อิทธิบาท 4







อิทธิบาท 4

  • อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า
  • อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น 4 คือ
    • ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
    • วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
    • จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
    • วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น
  • ธรรม 4 อย่างนี้ ย่อมเนื่องกัน แต่ละอย่างๆ มีหน้าที่เฉพาะของตน
    • ฉันทะ คือความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ตนถือว่าดีที่สุด ที่มนุษย์เราควรจะได้ข้อนี้เป็นกำลังใจอันแรก ที่ทำให้เกิดคุณธรรมข้อต่อไปทุกข้อ
    • วิริยะ คือความพากเพียร หมายถึง การการะทำที่ติดต่อไม่ขาดตอน เป็นระยะยาวจนประสบความสำเร็จ คำนี้มีความหมายของความกล้าหาญเจืออยู่ด้วย
    • จิตตะ หมายถึงความไม่ทอดทิ้งสิ่งนั้นไปจากความรู้สึกของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็นวัตถุประสงค์นั้นให้เด่นชัดอยู่ในใจเสมอ คำนี้รวมความหมายของคำว่าสมาธิอยู่ด้วยอย่างเต็มที่
    • วิมังสา หมายถึงความสอดส่องในเหตุและผลแห่งความสำเร็จเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้รวมความหมายของคำว่า ปัญญาไว้อย่างเต็มที่

เรื่องที่ 16 พรหมวิหาร 4

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พรหมวิหาร 4



พรหมวิหาร 4

  • พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ พรหมวิหารเป็นหลักธรรมสำหรับทุกคน เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ หลักธรรมนี้ได้แก่
    • เมตตา ความปราถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ความสุขเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ เช่น ความสุขเกิดการมีทรัพย์ ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อการบริโภค ความสุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้ และความสุขเกิดจากการทำงานที่ปราศจากโทษ เป็นต้น
    • กรุณา ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความทุกข์ คือ สิ่งที่เข้ามาเบียดเบียนให้เกิดความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ และเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน พระพุทธองค์ทรงสรุปไว้ว่าความทุกข์มี 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ 
      • - ทุกข์โดยสภาวะ หรือเกิดจากเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกาย เช่น การเกิด การเจ็บไข้ ความแก่และ ความตายสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่เกิดมาในโลกจะต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งรวมเรียกว่า กายิกทุกข์ 
      • - ทุกข์จรหรือทุกข์ทางใจ อันเป็นความทุกข์ที่เกิดจากสาเหตุที่อยู่นอกตัวเรา เช่น เมื่อปรารถนาแล้วไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ รวมเรียกว่า เจตสิกทุกข์
    • มุทิตา  ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คำว่า "ดี" ในที่นี้ หมายถึง การมีความสุขหรือมีความเจริญก้าวหน้า ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีจึงหมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น ไม่มีจิตใจริษยา ความริษยา คือ ความไม่สบายใจ ความโกรธ ความฟุ้งซ่านซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าตน เช่น เห็นเพื่อนแต่งตัวเรียบร้อยแล้วครูชมเชยก็เกิดความริษยาจึงแกล้งเอาเศษชอล์ก โคลน หรือหมึกไปป้ายตามเสื้อกางเกงของเพื่อนนักเรียนคนนั้นให้สกปรกเลอะเทอะ เราต้องหมั่นฝึกหัดตนให้เป็นคนที่มีมุทิตา เพราะจะสร้างไมตรีและผูกมิตรกับผู้อื่นได้ง่ายและลึกซึ้ง
    • อุเบกขา  การรู้จักวางเฉย หมายถึง การวางใจเป็นกลางเพราะพิจารณาเห็นว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว ตามกฎแห่งกรรม คือ ใครทำสิ่งใดไว้สิ่งนั้นย่อมตอบสนองคืนบุคคลผู้กระทำ เมื่อเราเห็นใครได้รับผลกรรมในทางที่เป็นโทษเราก็ไม่ควรดีใจหรือคิดซ้ำเติมเขาในเรื่องที่เกิดขึ้น เราควรมีความปรารถนาดี คือพยายามช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ในลักษณะที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม

เรื่องที่ 15 สังคหวัตถุ 4



สังคหวัตถุ 4

  • สังคหวัตถุ 4 หมายถึง หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล หรือเป็นหลักการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน มีอยู่ 4 ประการ ได้แก่
    • ทาน คือ การให้ การเสียสละ หรือการเอื้อเฟื้อแบ่งปันของๆตนเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว ไม่เป็นคนเห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้ไม่เป็นคนละโมบ ไม่เห็นแก่ตัว เราควรคำนึงอยู่เสมอว่า ทรัพย์สิ่งของที่เราหามาได้ มิใช่สิ่งจีรังยั่งยืน เมื่อเราสิ้นชีวิตไปแล้วก็ไม่สามารถจะนำติดตัวเอาไปได้
    • ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน พูดด้วยความจริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์เหมาะสำหรับกาลเทศะ พระพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับการพูดเป็นอย่างยิ่ง เพราะการพูดเป็นบันไดขั้นแรกที่จะสร้างมนุษย์สัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้น วิธีการที่จะพูดให้เป็นปิยวาจานั้น จะต้องพูดโดยยึดถือหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ 
      1. - เว้นจากการพูดเท็จ 
      2. - เว้นจากการพูดส่อเสียด 
      3. - เว้นจากการพูดคำหยาบ 
      4. - เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
    • อัตถจริยา คือ การสงเคราะห์ทุกชนิดหรือการประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
    • สมานัตตา คือ การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ หรือมีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้เราเป็นคนมีจิตใจหนักแน่นไม่โลเล รวมทั้งยังเป็นการสร้างความนิยม และไว้วางใจให้แก่ผู้อื่นอีกด้วย

เรื่องที่ 14 อริยสัจ 4



อริยสัจ 4


  • มีความจริงอยู่ 4 ประการคือ การมีอยู่ของทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และ หนทางไปสู่ความดับทุกข์ ความจริงเหล่านี้เรียกว่า อริยสัจ 4

        ทุกข์ คือ การมีอยู่ของทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ และตายล้วนเป็นทุกข์ ความเศร้าโศก ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความวิตกกังวล ความกลัวและความผิดหวังล้วนเป็น ทุกข์ การพลัดพรากจากของที่รักก็เป็นทุกข์ ความเกลียดก็เป็นทุกข์ ความอยาก ความยึดมั่นถือมั่น ความยึดติดในขันธ์ทั้ง 5 ล้วนเป็นทุกข์

        สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์ เพราะอวิชา ผู้คนจึงไม่สามารถเห็นความจริงของชีวิต พวกเขาตกอยู่ในเปลวเพลิงแห่งตัณหา ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความเศร้าโศก ความวิตกกังวล ความกลัว และความผิดหวัง

        นิโรธ คือ ความดับทุกข์ การเข้าใจความจริงของชีวิตนำไปสู่การดับความเศร้า โศกทั้งมวล อันยังให้เกิดความสงบและความเบิกบาน

        มรรค คือ หนทางนำไปสู่ความดับทุกข์ อันได้แก่ อริยมรรค 8 ซึ่งได้รับการหล่อ เลี้ยงด้วยการดำรงชีวิตอย่างมีสติความมีสตินำไปสู่สมาธิและปัญญาซึ่งจะปลดปล่อย ให้พ้นจากความทุกข์และความโศกเศร้าทั้งมวลอันจะนำไปสู่ความศานติและ ความเบิกบาน พระพุทธองค์ได้ทรงเมตตานำทางพวกเราไปตามหนทางแห่งความรู้แจ้งนี้

เรื่องที่ 13 อริยวัฑฒิ 5




อริยวัฑฒิ 5

  • อริยวัฑฒิ หมายถึง หลักปฏิบัติที่นำไปสู่ความเจริญงอกงาม หรือความเป็นอารยชน หรือความเป็นคนดีในอุดมคติ ซึ่งจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ 5 ประการ ดังนี้
  1. ศรัทธา (งอกงามด้วยศรัทธา) หมายถึง มีความเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ เชื่อด้วยปัญญาและเหตุผล
  2. ศีล (งอกงามด้วยศีล) หมายถึง รักษากายและวาจาให้เรียบร้อยเป็นปกติ ในทางปฏิบัติคือการรักษาศีล 5 หรือ ศีล 8 ของชาวพุทธทั่วไป
  3. สุตะ (งอกงามด้วยสุตะ) หมายถึงความรู้ที่ได้ยินได้ฟัง หรือการศึกษาหาความรู้ด้วยการฟังซึ่งรวมถึงการอ่านหนังสือและใช้สื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ ในการแสดงหาความรู้
  4. จาคะ (งอกงามด้วยจาคะ) หมายถึง รู้จักเสียสละ แบ่งปันสิ่งของให้แก่ผู้อื่น
  5. ปัญญา (งอกงามด้วยปัญญา) หมายถึง มีความรู้อย่างกว้างขวาง รู้ชัดเจน และรู้จริง เป็นความรู้ทั้งในวิชาชีพ วิชาสามัญ หรือรู้เท่าทันโลก

เรื่องที่ 12.ลักษณะบุรุษโทษ 18 ประการ


ชูชก

ลักษณะบุรุษโทษ 18 ประการ

  • ผู้ใดมีลักษณะชั่วอย่างใดอย่างหนึ่งในร่างกาย ท่านว่าผู้นั้นยังเป็นลักษณะมหาบุรุษไม่ครบ ยังขาดความสมบรูณ์ในลักษณะบุรุษที่ปกติทั่วไป
    1. มีข้อเท้าทั้งสองใหญ่และคด
    2. เล็บมือและเล็บเท้าทั้งหมดคุคหงิกงอ
    3. นมทั้งคู่หย่อนยานลงไปไม่เท่ากัน
    4. ริมฝีปากบนยาวยื่นกว่าริมฝีปากล่าง
    5. น้ำลายไหลอยู่ตลอดเวลา
    6. ฟันเขี้ยวงอกดุจเขี้ยวหมูป่า
    7. จมูกหักและแฟบลง
    8. ท้องป่องเป็นกระเพาะดุจหม้อน้ำ
    9. เส้นหลังไหล่คดโง้งงอ
    10. กระบอกตาลึกข้างหนึ่ง
    11. หนวดเคราเป็นเส้นแข็งดุจเส้นลวด
    12. ผมสีเหลืองดังใบลานแห้ง
    13. ตามร่างกายมีเส้นเอ็นขึ้นทั่วไปเห็นได้ชัดเจน
    14. มีจุด ไฝ ฝ้า ปานดำด่าง ทั่วร่างกาย
    15. มีลูกนัยน์ตาเหลืองเหล่ เหลืองดุจแมวกราว
    16. มีร่างกายคดโค้งทั้งเอวทั้งไหล่
    17. มีเท้าโกง 1 ข้าง และไม่เท่ากัน
    18. ตามร่างกายมีขนขึ้นแข็งดุจแปลงขนหลังหมูป่า

เรื่องที่ 11 ลักษณะมหาบุรุษ 80 ประการ

ลักษณะมหาบุรุษ 80 ประการ

  • ลักษณะ 80 ประการต่อไปนี้ จะมีได้เฉพาะอัจฉริยะบุคคลเท่านั้น คือเป็นผู้มีบุญ วาสนา มีโชคลาภว่าคนทั่วไป
  • หมายเหตุ ข้อใดกล่าวถึงมือทั้ง 2 ข้าง กล่าวถึงเท้าทั้ง 2 ข้าง จมูก คิ้ว ให้หมายถึงทั้ง 2 อย่าง รวมเป็น 80 ลักษณะพอดี
  1. มีนิ้วมือ นิ้วเท้าเรียวยาวกว่ากัน เว้นเฉพาะนิ้วหัวแม่มือยาวเท่ากับข้อที่ 1 ของนิ้วชี้
  2. นิ้วมือ นิ้วเท้ากลมกลึง
  3. เล็บมือ เล็บเท้า สีแดง เล็บซ้อนอยู่บนปลายบนนิ้วมือ ไม่คร่อมอย่างคนทั่วไป
  4. คิ้วยาวเรียวไปทางหางตาสม่ำเสมอกัน ปลายคิ้วโค้งลงเล็กน้อย
  5. ข้อมือ ข้อเท้า ซ้อนอยู่ในเนื้อมิดชิด
  6. ฝ่าเท้าทั้ง 2 ข้างเท่ากันพอดี
  7. เยื้องกายไป งามดุจโคอุสุภราช
  8. ก้าวเดินครั้งแรกจะเอาเท้าขวาออกก่อนเสมอ
  9. หัวเข่ากลมเกลี้ยง มองไม่เห็นกระดูกล้ำออกมา
  10. ท่าทีเป็นราชสีห์ ไม่มีอิริยาบถอิสตรีแม้แต่น้อย
  11. มีหน้าท้องเสมอถึงทรวงอก
  12. ขาอ่อนงามดุจท่อนกล้วย
  13. ลำแขนดุจงวงช้างสาร
  14. สรีระร่างกายแต่ละส่วน เป็นสัดส่วน งามพร้อมไม่มีที่ติ
  15. หน้าท้องมีรอยวนขวาขยายกว้างออกไป
  16. ผิวหนังหนาในที่ควรหนา บางในที่ควรบาง
  17. ผิวหนังไม่มีที่หดย่น
  18. ทั่งร่างกายไม่มี ไฝ ปานดำด่างเลย
  19. ทั่วร่างกายงามพร้อม ตั้งแต่เบื้องบน ลงมาถึงเบื้องล่าง
  20. ทั่วร่างกายงามบริสุทธิ์หาที่ติมิได้เลย
  21. มีกำลังดุจช้างสาร
  22. จมูกโด่งคมสัน
  23. สัณฐานจมูกงดงาม
  24. ริมฝีปากสม่ำเสมอ ไม่เลื่อมล้ำกว่ากัน มีสีแดงดุจตำลึงสุก
  25. ฟันขาวงามดุจสังข์
  26. ฟันขาวงามบริสุทธิ์ดุจสีน้ำค้าง ไม่มีมลทินเลย
  27. ฟันเกลี้ยงไม่มีรอยมลทิน
  28. ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ บริสุทธิ์
  29. ฟันเขี้ยว 4 ซี่ กลมกลึง
  30. ดวงหน้าสัณฐานรูปไข่
  31. แก้มทั้งสองข้างเปล่งปลั่งเสมอกัน
  32. ลายมือมีรอยลึกเสมอกัน
  33. ลายมือมีรอยอันยาว
  34. ลายมือมีรอยอันตรง
  35. ลายมือมีรอยสีแดงเสมอกัน
  36. รัศมีร่างกายแผ่ออกไปเป็นปริมณฑล
  37. กระพุ้งแก้มแต่งตรึงเสมอกัน
  38. กระบอกตากว้างและยาวเท่ากัน ทั้ง 2 ข้าง
  39. ดวงตาประกอบด้วยประสาททั้ง 4 แจ่มใสบริสุทธิ์
  40. ขนตาเหยียดตรงไม่งอคด
  41. ลิ้นมีสัณฐานอันงดงาม
  42. ลิ้นอ่อนละเอียดละไม มีสีแดงเข้ม
  43. หูทั้ง 2 ข้าง ยาวราบเรียบ ดุจกลีบดอกไม้
  44. ช่องหูกลมกลึงงาม
  45. ขนหูมีปลายซ่อยภายในทั้งสิ้น
  46. ขนหูมีเส้นสละสลวย
  47. ศีรษะมีสัณฐานงดงามดุจฉัตร หน้าผากกว้างเสมอกัน
  48. ขอบหน้าผากไม่เว้า เถิกล้านอย่างสามัญชน
  49. คิ้วยาวโก่งดุจคันศร
  50. ขนคิ้วยาวเรียวล้มราบไปทางปลายคิ้วทั้งหมด
  51. คิ้วใหญ่ดำดกสนิท
  52. คิ้วยาวสุดหางตา เหมือนกันทั้ง 2 ข้าง
  53. ผิวกายละเอียดทั่งร่าง
  54. ทั่วร่างกายมีรัศมีรุ่งโรจน์เสมอ
  55. ผิวกายไม่มีมลทินมัวหมอง
  56. ผิวกายสดชื่นตลอดเวลา
  57. กลิ่นกายหอมฟุ้ง ดุจกลิ่นหอมกฤษณา
  58. เส้นขนตามร่างกายละเอียดอ่อน
  59. ลมหายใจเข้าออก เดินสะดวกสม่ำเสมอ
  60. ปากงามดุจแย้มยิ้ม
  61. กลิ่นปากหอมดุจกลิ่นดอกบัว
  62. เส้นผมดำสนิทจนออกแสง
  63. กลิ่นหอมฟุ้งตลบอบอวล
  64. ผมหอมดุจกลิ่นโกมุท
  65. เส้นผมกลมสลวยทุกเส้น
  66. เส้นผมดำสนิทเสมอกันทุกเส้น
  67. เส้นผมทุกเส้นละเอียดนุ่ม
  68. เส้นผมเวียนขาวทุกเส้น จนถึงกลางขม่อม

หมายเหตุ ที่ข้อใดกล่าวถึงมือให้หมายถึงมือทั้งสองข้าง  กล่าวถึง จมูก คิ้ว เท้า ให้หมายถึง 2 อย่าง รวม เป็น 80 ลักษณะ ด้วยประกาฉะนี้แล


  • ตามที่กล่าวมานี้ เป็นลักษณะพิเศษของ "มหาบุรุษลักษณะ" ยากที่สามัญชนธรรมดา จะมีเสมอเหมือน ดังนั้นพระพุทธเจ้า จึงเลิศประเสริฐบริสุทธิ์ กว่าบุคคลธรรมดาทั่วไป