วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เรื่องที่ 4 ไตรลักษณ์


ไตรลักษณ์

  • เป็นกฎสำคัญแห่งธรรมชาติ ซึ่งมีลักษณะ ๓ อย่าง คือ
    • ๑. อนิจจัง ความไม่เที่ยง
    • ๒. ทุกขัง ความทนอยู่ไม่ได้
    • ๓. อนัตตา ความไม่ใช่ตัวตน
  • ตามหลักพุทธธรรมเบื้องต้นที่ว่า สิ่งทั้งหลายเกิดจากส่วนประกอบต่าง ๆ มาประชุมกันเข้า หรือมีอยู่ในรูป ของการรวมตัวเข้าด้วยกันของส่วนประกอบต่าง ๆ นั้น มิใช่หมายความว่าเป็นการนำเอาส่วนประกอบที่เป็นชิ้น ๆ อัน ๆ อยู่แล้วมาประกอบเข้าด้วยกัน 
  • และเมื่อประกอบเข้าด้วยกันแล้วก็เกิดเป็นรูปเป็นร่าง คุมกันอยู่เหมือนเมื่อเอาวัตถุต่าง ๆ มาราวม กันเป็นเครื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ 
  • ความจริงที่กล่าวว่าสิ่งทั้งหลายเกิดจากการประชุมกันของส่วนประกอบต่าง ๆ นั้น เป็นเพียงคำกล่าวเพื่อเข้าใจง่าย ๆ ในเบื้องต้นเท่านั้น 
  • แท้จริงแล้วสิ่งทั้งหลายมีอยู่ในรูปของกระแส ส่วนประกอบแต่ละอย่าง ๆ ล้วนประกอบขึ้นจากส่วนประกอบอื่น ๆ ย่อยลงไป แต่ละอย่างไม่มีตัวตนของมันอิสระ ล้วนเกิดดับต่อกันไปเรื่อย ไม่เที่ยงไม่คงที่ 
  • กระแสนี้ไหลเวียนหรือดำเนินต่อไปอย่างที่ดูคล้ายกับรักษารูปแนวและลักษณะทั่วไปไว้ได้อย่างค่อยเป็นไป ก็เพราะส่วนประกอบทั้งหลายมีความสัมพันธ์ เนื่องอาศัยซึ่งกันและกัน เป็นเหตุปัจจัยสืบต่อแก่กันอย่างหนึ่ง 
  • และเพราะส่วนประกอบเหล่านั้นแต่ละอย่างล้วนไม่มีตัวตนของมันเอง และไม่เที่ยงแท้คงที่อย่างหนึ่งความเป็นไปต่างๆ ทั้งหมดนี้ เป็นไปตามธรรมชาติอาศัยความสัมพันธ์และความเป็นปัจจัยเนื่องอาศัยกันของสิ่งทั้งหลายเอง 
  • ไม่มีตัวการอย่างอื่นที่นอกเหนือออกไปในฐานะผู้สร้างหรือผู้บันดาล จึงเรียกเพื่อเข้าใจง่าย ๆ ว่าเป็นกฎธรรมชาติ 
  • มีหลักธรรมใหญ่อยู่ ๒ หมวด ที่ถือได้ว่าพระพุทธเจ้าทรงแสดงในรูปของกฎธรรมชาติ คือ  ไตรลักษณ์แลปฏิจจสมุปบาท 
  • ความจริงธรรมทั้ง ๒ หมวดนี้ถือได้ว่าเป็นกฎเดียวกัน แต่แสดงในคนละแง่หรือคนละแนว เพื่อมองเห็นความจริงอย่างเดียวกัน คือ ไตรลักษณ์ 
  • มุ่งแสดงลักษณะของสิ่งทั้งหลาย ซึ่งปรากฏให้เห็นว่าเป็นอย่างนั้น ในเมื่อสิ่งเหล่านั้นเป็นไป่โดยอาการที่สัมพันธ์เนื่องอาศัย เป็นเหตุปัจจัยสืบต่อแก่กันตามหลักปฏิจจสมุปบาท 
  • ส่วนหลักปฏิจจสมุปบาทก็มุ่งแสดงถึงอาการที่สิ่งทั้งหลายมีความสัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นเหตุปัจจัยสืบต่อแก่กันเป็นกระแส จนมองเห็นลักษณ์ได้ว่าเป็นไตรลักษณ์
  • กฎธรรมชาตินี้ เป็น ธรรมธาตุ คือภาวะที่ทรงตัวอยู่โดยธรรมดา เป็น ธรรมฐิติ คือภาวะที่ตั้งอยู่ หรือยืนตัวเป็นหลักแน่นอนอยู่โดยธรรมดา เป็น ธรรมนิยาม คือ กฎธรรมชาติ หรือกำหนดแห่งธรรมดาไม่เกี่ยวกับผู้สร้างผู้บันดาล หรือการเกิดขึ้นของศาสนาหรือศาสดาใด ๆ 
  • กฎธรรมชาตินั้แสดงฐานะของศาสดาในความหมายของพุทธธรรมด้วยว่าเป็นผู้ค้นพบกฎเหล่านั้แล้วนำมาเปิดเผยชี้แจงแก่ชาวโลกไตรลักษณ์นั้น มีพุทธพจน์แสดงหลักไว้ในรูปของกฎธรรมชาติว่าดังนี้ "ตถาคต ทั้งหลายจะอุบัติหรือไม่ก็ตาม ธาตุ นั้นก็ยังคงมีอยู่ เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยามว่า
    • ๑. สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง
    • ๒. สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์
    • ๓. ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา
  • ตถาคตตรัสรู้เข้าถึงหลักนั้นแล้ว จึงบอก แสดง วางเป็นแบบ ตั้งเป็นหลัก เปิดเผยแจกแจง ทำให้เข้าใจง่ายว่า " 
  • สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์ .ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา 
  • ไตรลักษณ์นี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สามัญลักษณ์ แปลว่าลักษณะที่ทั่วไป หรือเสมอเหมือนกันแก่สิ่งทั้งปวงซึ่งได้ความหมายเท่ากัน
คำอธิบายไตรลักษณ์ตามหลักวิชาในคัมภีร์
  • ถ้ายกเอาหลักธรรมนิยามที่แสดงไตรลักษณ์ หรือสามัญลักษณธ ๓ อย่าง มาตั้งเป็นหัวข้ออีกครั้งหนึ่งเพื่ออธิบายให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป ตามแนวหลักวิชาที่มีหลักฐานอยู่ในคัมภีร์ต่าง ๆ ดังนี้
    • ก. สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง
    • ข. สังขารทั้งหลายทั้งปวง เป็นทุกข์
    • ค. ธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนัตตา
  • สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เรียกตามคำบาลีว่า เป็น อนิจจ์ หรือ อนิจจะ แต่ในภาษาไทยนิยมใช้คำว่า อนิจจังความไม่เที่ยง ความเป็นสิ่งไม่เที่ยง หรือภาวะที่เป็นอนิจจ์รหืออนิจจัง นั้น เรียกเป็นคำศัพท์ตามบาลีว่า อนิจจตา ลักษณะที่แสดงถึงความไม่เที่ยงเรียกเป็นศัพท์ว่า อนิจจลักษณะ
  • สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ ในภาษาไทย บางที่ใช้อย่างภาษาพูดว่า ทุกขัง ความเป็นทุกข์ ความเป็นของคงทนอยู่มิได้ ความเป็นสภาวะมีความบีบคั้นขัดแย้ง หรือภาวะที่เป็นทุกข์นั้น เรียกเป็นคำศัพท์ตามบาลีว่า ทุกขตา ลักษณะที่แสดงถึงความเป็นทุกข์เรียกเป็นศัพท์ว่า ทุกขลักษณะธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ความเป็นอนัตตา ความเป็นของมิใช่ตัวตน หรือภาวะที่เป็นอนัตตานั้นเรียกเป็นคำศักพท์ตามบาลีว่า อนัตตตา ลักษณะที่แสดงถึงความเป็นอนัตตา เรียกเป็นคำศัพท์ว่า อนัตตลักษณะ
สังขารทั้งปวงกับธรรมทั้งปวง
  • "ธรรม" เป็นคำที่มีควมหมายกว้างที่สุด กินความครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่างบรรดามี ทั้งที่มีได้และได้มี ตลอดกระทั่งความไม่มีที่เป็นคู่กับความมีนั้น 
  • ทุกสิ่งทุกอย่างที่ใครก็ตามกล่าวถึง คิดถึง หรือรู้ถึงทั้งเรื่องทางวัตถุและทางจิตใจ ทั้งที่ดีและที่ชั่ว ทั้งที่เป็นสามัญวิสัยและเหนือสามัญวิสัย รวมอยู่ในคำว่าธรรมทั้งสิ้น 
  • ถ้าจะให้มีความหมายแคบเข้า หรือจำแนกแยกธรรมนั้นแบ่งประเภทออกไป แล้วเลือกเขาส่วนหรือแง่ด้านแห่งความหมายที่ต้องการ หรือมิฉะนั้นก็ใช้คำว่าธรรมคำเดียวเดี่ยวโดดเต็มรูปของมันตามเดิม 
  • แต่ตกลงหรือหมายรู้ร่วมกันไว้ว่า เมื่อใช้ในลักษณะนั้น ๆ ในกรณีนั้นหรือในความแวดล้อมอย่างนั้น ๆ จะให้มีความหมายเฉพาะในแนวความ หรือในขอบเขตว่าอย่างนั้น ๆ 
  • เช่น เมื่อมาคู่กับอธรรมหรือใช้เกี่ยวกับความประพฤติที่ดี ที่ชั่วของบุคคล หมายถึง บุญ หรือคุณธรรมคือความดี เมื่อมากับคำว่า อัตถะ หรืออรรถ หมายถึงตัวหลัก หลักการ หรือเหตุ เมื่อใช้สำหรับการเล่าเรียน หมายถึงปริยัติ พุทธพจน์ หรือคำสั่งสอน เป็นต้น 
  • ธรรม ที่กล่าวถึงในหลักอนัตตา แห่งไตรลักษณ์นี้ หมายถึง สภาวะหรือสภาพทุกอย่าง ไม่มีขีดจำกัด 
  • ธรรม ในความหมายเช่นนี้จะเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น เมือแยกแยะแจกแจงแบ่งประเภทออกไป เช่น จำแนกเป็นรูปธรรม และนามธรรมบ้าง โลกียธรรม และโลกุตตรธรรมบ้าง สังขตธรรมและอสังขตธรรม บ้าง กุศลธรรมและอกุศลธรรม และอัพยากฤตธรรมบ้าง 
  • ธรรมที่จำแนกเป็นชุดเหล่านี้ แต่ละชุดครอบคลุมความหมายของธรรมได้หมดสิ้นทั้งนั้น แต่ชุดที่ตรงกับแง่ที่ควรศึกษาในที่นี้คือ ชุดสังขตธรรม และอสังขตธรรม

ธรรมทั้งหลายทั้งปวงแยกประเภทได้เป็น ๒ อย่างคือ
  • ๑. สังขตธรรม คือ ธรรมที่ถูกปรุงแต่ง ได้แก่ ธรรมที่มีปัจจัย สภาวะที่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่งขึ้น สภาวะที่ปัจจัยทั้งปลายมาร่วมกันแต่งสรรค์ขึ้นสิ่งที่ปัจจัยประกอบเข้าหรือสิ่งที่ปรากฏและเป็นไปตามเงื่อนไขของปัจจัย เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สังขารซึ่งมีรากศัพท์และคำแปลเหมือนกันหมายถึงสภาวะทุกอย่างทั้งทางวัตถุและทางจิตใจ ทั้งรูปธรรมและนามธรรม ทั้งที่เป็นโลกียะและโลกุตตระ ทั้งที่ดีที่ชั่วและที่เป็นกลาง ๆ ทั้งหมด เว้นแต่นิพพาน
  • ๒. อสังขตธรรม คือ ธรรมที่ไม่ถูกปรุงแต่ง ได้แก่ ธรรมที่ไม่มีปัจจัย หรือสภาวะที่ไม่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่งไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของปัจจัย เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วิสังขาร ซึ่งแปลว่า สภาวะปลอดสังขารหรือสภาวะที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง หมายถึง นิพพาน
สังขารในขันธ์ ๕ กับสังขารในไตรลักษณ์
          ๑. สังขารในขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
          ๒. สังขารในไตรลักษณ์ ได้แก่ สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

เปรียบเทียบความหมายทั้ง ๒ นัยดังนี้
          ก. สังขาร ซึ่งเป็นข้อที่ ๔ ในขันธ์ ๕ หมายถึง สภาวะที่ปรุงแต่งจิต ให้ดี ให้ชั่ว ให้เป็นกลาง ได้แก่ คุณสมบัติต่างๆของจิตมีเจตนาเป็นตัวนำที่ปรุงแปรการตริตรึกนึกคิดในใจและการแสดงออกทางกายวาจาให้เป็นไปต่าง ๆ เป็นตัวการของการทำกรรม เรียกง่าย ๆ ว่า เครื่องปรุงของจิต เช่น ศรัทธา สติ หิริ เป็นต้น

         ข. สังขาร ที่กล่าวถึงในปตรลักษณ์ หมายถึง สภาวะที่ถูกปรุงแต่ง คือ สภาวะที่เกิดจากเหตุปัจจัย ปรุงแต่งขึ้นทุกอย่าง ประดามี ไม่ว่าจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ตาม เป็นด้านร่างกายหรือจิตใจก็ตาม มีชีวิตหรือไร้ชีวิตก็ตาม อยู่ในจิตใจหรือวัตถุภายนอกก็ตาม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สังขตธรรม คือทุกสิ่งทุกอย่าง เว้นนิพพานจะเห็นว่า สังขาร ในขันธ์ ๕ มีความหมายแคบกว่า สังขาร ในไตรลักษณ์ หรือเป็นส่วนหนึ่งของสังขารในไตรลักษณ์นั่นเอง ความต่างกันและแคบกว่ากันนี้ เห็นได้ชัดทั้งโดยความหมายของศัพท์และโดยองค์ธรรม
  • สิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์ทั้งที่ความเป็นอนิจจัง ทุกข์ และอนัตตา นี้ เป็นลักษณะสามัญของสิ่งทั้งหลาย เป็นความจริงที่แสดงตัวของมันเองอยู่ตามธรรมดาตลอดทุกเวลา แต่คนทั่วไปก็มองไม่เห็น ทั้งนี้เพราะเป็นเหมือนมีสิ่งปิดบังคอยซ่อนคลุมนี้ คือ
            ๑. สันตติ บังอนิจจลักษณะ
            ๒. อิริยาบถ บังทุกขลักษณะ
            ๓. ฆนะ บังอนัตตลักษณะ
  • ข้อที่ ๑ ท่านกล่าวว่า เพราะมิได้มนสิการความเกิดและความดับหรือความเกิดขึ้นและความเสื่อมสิ้นไปก็ถูก   สันตติ คือ ความสืบต่อหรือความเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ปิดบังไว้ อนิจจลักษณะจึงไม่ปรากฏ
  • ข้อที่ ๒ ท่านกล่าวว่า เพราะมิได้มนสิการความบีบคั้นกดดันที่มีอยู่ตลอดเวลา ก็ถูก อิริยาบถ คือ ความยักย้ายเคลื่อนไหว ปิดบังไว้ ทุกขลักษณะจึงไม่ปรากฏ
  • ข้อที่ ๓ ท่านกล่าวว่า เพราะมิได้มนสิการความแยกย่อยออกเป็นธาตุต่าง ๆ ก็ถูก ฆนะ คือความเป็นแท่งเป็นก้อนเป็นชิ้นเป็นอันเป็นมวลหรือเป็นหน่วยรวม ปิดบังไว้ อนัตตลักษณจึงไม่ปรากฏ
ประโยชน์ของการเรียนรู้เรื่องไตรลักษณ์
        ๑. ประโยชน์ของการเรียนรู้เรื่องอนิจจัง เมื่อได้เรียนรู้ความไม่เที่ยงของสิ่งทั้งปวงแล้ว จะได้ประโยชน์หลายประการ ดังนี้
    • ก. ความไม่ประมาท ทำให้คนไม่ประมาทมัวเมาในวัยว่ายังหนุ่มสาว ในความไม่มีโรคและในชีวิต เพราะความตายอาจมาถึงเมื่อไรก็ได้ไม่แน่นอน ทำให้ไม่ประมาทในทรัพย์สิน เพราะคนมีทรัพย์อาจกลับเป็นคนจนได้ ทำให้ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น เพราะผู้ที่ไร้ทรัพย์ ไร้ยศ ต่ำต้อย กว่าภายหน้าอาจมีทรัพย์ มียศ และเจริญรุ่งเรืองกว่าก็ได้เมือคิดได้ดังนี้จะทำให้สำรวมตน อ่อนน้อม ถ่อมตน ไม่ยโสโอหัง วางท่าใหญ่ ยกตนข่มท่าน
    • ข. ทำให้เกิดความพยายาม เพื่อที่จะก้าวไปข้างหน้า เพราะรู้ว่าถ้าเราพยายามก้าวไปข้างหน้าแล้วชีวิตย่อมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี
    • ค. ความไม่เที่ยงแท้ ทำให้รู้สภาพการเปลี่ยนแปลงของชีวิต เมื่อประสบกัยสิ่งไม่พอใจ ก็ไม่สิ้นหวังและเป็นทุกข์ ไม่ปล่อยตนไปตามเหตุการณ์นั้น ๆ จนเกินไป พยายามหาทางหลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่ดี

         ๒. ประโยชน์ของการเรียนรู้เรื่องทุกขัง เมื่อผู้ใดได้เรียนรู้เรื่องความทุกแล้ว จะรู้ว่า ความทุกข์เป็นของธรรมดาประจำโลก อย่างหนึ่งซึ่งใคร ๆ จะหลีกเลี่ยงได้ยาก ต่างกันก็แต่เพียงรูปแบบของทุกข์นั้น เมื่อความทุกข์เกิดขึ้นแก่ชีวิต ผู้มีปัญญาตรองเห็นความจริงว่าความทุกข์เป็นสัจจธรรมอย่างหนึ่งของชีวิต ชีวิตย่อมระคนด้วยทุกข์เป็นธรรมดา เมื่อเห็นเป็นธรรมดา ความยึดมั่นก็มีน้อย ความทุกข์สามารถลดลงได้หรืออาจหายไปเพราะไม่มีความยึดมั่น ความสุขที่เกิดจากการ
ปล่อยวางย่อมเป็นสุขอันบริสุทธิ์ 

๓. ประโยชน์ของการเรียนรู้เรื่องอนัตตา
  • การเรียนรู้เรื่องอนัตตา ทำให้เรารู้คามจริงของสิ่งทั้งปวง ไม่ต้องถูกหลอกลวง จะทำให้คลาย ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ทำให้ไม่ยึดมั่น เบากาย เบาใจ เพราะเรื่องอนัตตาสอนให้เรารู้ว่า สังขารทั้งปวง เป็นไปเพื่ออาพาธ ฝืนความปรารถนา บังคับบัญชาไม่ได้อย่างน้อยที่สุดเราจะต้องยอมรับความจริงอย่างหนึ่งว่า ตัวเราเองจะต้องพบกับธรรมชาติแห่งความเจ็บปวด ความแก่ชรา และความตายจากครอบครัวและญาติพี่น้องตลอดจนทุกสิ่งทุกอย่าง
อริยสัจ ๔ ประการ ได้แก่
            ๑. ทุกข์ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ ที่ชื่อว่าทุกข์เพราะทนได้ยาก
            ๒. สมุทัย เหตุเกิดทุกข์ ได้แก่ตัณหา คือความทะยานอยาก
            ๓. นิโรธ ความดับทุกข์ ได้แก่ดับตัณหาให้สิ้นเชิง
            ๔. มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่อริยมรรค ๘ ประการ
  • อริยสัจ ๔ ประการนี้ เป็นหลักคำสอนที่สำคัญของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ทรงแสดงไว้อย่างชัดแจ้งในธรรมจักกัปปวัตตนสูตรโปรดปัญจักวัคคีย์ทั้ง ๕ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ปัจจุบันนี้เรียกว่า "สารนาถ" ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ 
  • ที่เราเรียกวันนี้ว่า "อาสาฬหบูชา" พระธรรมเทศนากัณฑ์นี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ปฐมเทศนา" คือ การเทศกัณฑ์แรกของพระพุทธเจ้าหลังจากตรัสรู้แล้ว ปฐมเทศนามีหลักฐานอยู่ในพระไตรปิฎกอย่างสมบูรณ์ คำว่า "สัจจะ" แปลว่า ความจริง มี ๔ ประการ คือ
          ๑. สมมุติสัจ ความจริงโดยการสมมุติ คือความจริที่ไม่เป็นจริง เพียงแต่เราสมมุติขึ้นเท่านั้น
          ๒. สภาวสัจ ความจริงโดยสภาวะ คือความจริงที่เป็นจริง ซึ่งได้มาจากการค้นคว้าวิจัย ทดลองจนสามรถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เป็นต้น
          ๓. อันติมสัจ ความจริงขั้นสุดท้าย หมายถึงความจริงที่ได้วิเคราะห์จนถึงที่สุดแล้วไม่มีอะไรจริงยิ่งไปกว่านั้น
          ๔. อริยสัจ ความจริงอันประเสริฐทำให้ผู้ปฏิบัติหลุดพ้นจากกองกิเลสทั้งหลายกลายเป็นหระอริยเจ้า

อริสัจข้อที่ ๑ ทุกข์
  • คำว่า "ทุกข์" นี้ ตามความหมายทั่วไป ก็หมายถึงความทุกข์มาน ความเจ็บปวดความโศกเสร้า เสียใจ แต่คำว่าทุกข์ใน
  • อริยสัจข้อที่ ๑ นี้ เป็นความทุกข์ที่แฝงทัศนะทางพุทศาสนาเกี่ยวกับชีวิตและโลกเอาไว้ ย่อมมีความหมายทางปรัชญาที่ลึกซึ้งกว่า เป็นที่ยอมรับกันว่า คำว่า ทุกข์ ในอริยสัจ ข้อที่ ๑ นั้น รวมถึงความหมายของทุกข์ตามปรกติธรรมดา เช่น ทุกข์ทรมาน ความเจ็บ ปวด เข้าไว้ด้วย และรวมถึงความคิดที่ลึกซึ้งเข้าไปด้วยกันด้วย เช่น ความไม่แน่นอน ความว่างเปล่า ความไม่สมหวัง ความไม่มีแก่นสาร เป็นต้น พระพุทธเจ้าทรงตรัสทุกข์ไว้ในธรรมจักกัปปวัตนสูตร ตอนที่ว่าด้วยอริยสัจได้แบ่งทุกข์ออกเป็น ๒ ประการคือ
    • ๑. สภาวทุกข์ ทุกประจำ ได้แก่ ความเกิด ความแก่ และความตาย เป็นทุกข์
    • ๒. ปกิณณกทุกข์ ทุกข์จร ได้แก่ ความเศร้าโศก เสียใจ ร่ำไห้ รำพัน ความผิดหวัง เป็นทุกข์
  • อริยสัจข้อที่ ๒ สมุทัย สมุทัย คือ เหตุเกิดทุกข์ อันเกิดจากตัณหาคือ ความอยากที่มุอยู่ในจิตใจของแต่ละคนทำให้คนเกิดทุกข์ในขณะที่ลีทธิต่าง ๆสอนว่า ความทุกข์นั้นเกิดจากพระผู้เป็นเจ้าผู้เป็นใหญ่บนสวรรค์ บันดาลให้มนุษย์เป็นไปต่าง ๆ กัน แต่พระพุทธเจ้าทรงชี้ไปที่ตัณหา คือความอยากเท่านั้นว่าทำให้คนเกิดทุกข์ 
ตัณหา ๓ ได้แก่
    • ก. กามตัณหา อยากได้กามคุณ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ จัดเป็นกามตัณหา
    • ข. ภวตัณหา อยากได้ในภาวะของตัวตนที่จะได้จะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง
    • ค. วิภวตัณหา อยากไม่ให้มี อยากไม่ให้เป็น เช่นอยากหนีภาวะที่คับแค้น
  • อริยสัจข้อที่ ๓ นิโรธ นิโรธ คือ ความดับทุกข์ การสละ การสลัดออก ความดับทุกข์ ได้แก่ นิพพานนั่นเอง คำนิยามของ นิพพาน หมายถึง การดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือแห่งตัณหา ความว่า ความปล่อยวาง ความไม่อาลัย "ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรมเป็นที่สละคืออุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาธรรมเป็นที่สำรอก ธรรมเป็นที่ดับ คือ นิพพาน"
  • อริยสัจข้อที่ ๔ มรรค มรรค แปลว่า หนทาง หมายถึงข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ มรรคนี้เป็นทางสายกลางที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา เพราะมีทางปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไปคือ
    • ๑.ประเภทที่หย่อนเกินไป ร่างกายและจิตใจหมกมุ่นมัวเมาอยู่ในกามารมณ์ เรียนว่า กามสุขัลลิกานุโยค
    • ๒. ประเภทที่ตึงเกินไป มีการทรมานตนให้ได้รับความลำบาก ทุกข์ทรมานอย่างหนักเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค
  • การบำเพ็ญทั้งสองวิธีนี้ พระพุทธเจ้าได้ทรงทดลองมาแล้วตอนบำเพ็ญทุกรกิริยาก่อนตรัสรู้ เมี่อทดลองจนถึงที่สุดแล้ว ก็ไม่พ้นทุกข์จึงได้ค้นพบวิธีปฏิบัติใหม่ ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่หย่อนเกินไป และไม่ตึงเกินไป เป็นการปฏิบัติอยู่ในสายกลาง ทางสายกลางนี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา ซึ่งประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ
    • ๑. ความเห็นชอบ
    • ๒. ความดำริชอบ
    • ๓. การเจรจาชอบ
    • ๔. การงานชอบ
    • ๕. เลี้ยงชีพชอบ
    • ๖. พยายามชอบ
    • ๗. ระลึกชอบ
    • ๘. ตั้งใจชอบ
  • อริยสัจทั้ง ๔ ประการนี้ ถือว่าเป็นหลักคำสอนที่คลุมธรรมทั้งหมด โดยเฉพาะทางสายกลางทั้งหมดนี้ เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงแสดงสายกลางนี้ตลอดมาเป็นระยะเวลานาน แก่บุคคลหลายประเภทที่แตกต่างกัน ตามกำลังสติปัญญาและความสามารถของแต่ลบุคคลที่จะเข้าใจและปฏิบัติตามพระองค์ได้การปฏิบัติตามมรรค ๘ ประการ หรือทางสายกลางนี้ต้องทำให้เกี่ยวเนื่องกันครบทุกข้อ แต่ละข้อเป็นทางปฏิบัติที่สัมพันธ์กัน มรรคทั้ง ๘ ประการนี้มีจุดมุ่งหมายอยู่ที่การอบรมฝึกฝนตนตามหลักสูตรของพระพุทธศาสนาซึ่งมีสาระอยู่ ๓ ประการ คือ
    • ก. การประพฤติตามหลักจรรยา (ศีล)
    • ข. การฝึกฝนอบรมทางใจ (สมาธิ)
    • ค. การให้เกิดความรู้อย่างแท้จริง (ปัญญา)
หลักการรู้อริยสัจ ๔ 
  • การรู้อริยสัจนั้น จะต้องมีหลักเกณฑ์ในการรู้ที่แน่นอนตายตัว การรู้อริยสัจที่ถือว่าจบเกณฑ์นั้น จะต้องรู้ ๓ รอบ รู้ในญาณทั้ง ๓ คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และกตญาณ เรียกว่า ปริวัติ ครั้งละ ๔ รวมเป็น ๑๒ ครั้งดังนี้
    • รอบที่ ๑ สัจจญาณ คือรู้ว่า
      • ๑. ทุกข์มีจริง ชีวิตคลุกเคล้าด้วยควมทุกข์จริง
      • ๒. สมุทัย เป็นเหตุเกิดทุกข์จริง
      • ๓. นิโรธ ความดับทุกข์มีจริง
      • ๔. มรรค เป็นทางไปสู้ความดับทุกข์จริง
    • รอบที่ ๒ กิจจญาณ คือรู้ว่า
      • ๑. ทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้
      • ๒. สมุทัย เป็นสิ่งที่ควรละ
      • ๓. นิโรธ ความดับทุกข์ควรทำให้แจ้งขึ้นในใจ
      • ๔. มรรค ควรบำเพ็ญให้เกิดขึ้น
    • รอบที่ ๓ กตญาณ คือรู้ว่า
      • ๑. ทุกข์ เราได้กำหนดรู้แล้ว
      • ๒. สมุทัย เราได้ละแล้ว
      • ๓. นิโรธ เราได้ทำให้แจ้งแล้ว
      • ๔. มรรค เราได้บำเพ็ญให้เกิดมีครบถ้วนแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น