วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เรื่องที่ 3 ปัญญา



ปัญญา

  • ปัญญา แปลได้หลายอย่าง เช่น ความรอบรู้เหตุผล รู้ชัด รู้ทัน รู้ประจักษ์ และรู้ถึงทั้งภายในและภายนอก เป็นต้น ปัญญาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ โลกิยปัญญา เป็นปัญญาของโลกิยชน และโลกุตตรปัญญา เป็นปัญญาของพระอริยบุคคล ปัญญามีไว้สำหรับปราบปรามกิเลสอย่างละเอียด คือ อวิชชา (ความหลง ความไม่รู้เท่า ความเห็นผิดว่า สิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง สิ่งทั้งหลายเป็นสุข)
ปัญญาต่างกับวิญญาณ คือ
  • วิญญาณนั้น เพียงแต่รู้ความกระทบ จากอาตตนะภายนอก เช่น ตาเห็นรูป เกิดจากวิญญาณ (รู้ทางตา) เป็นหน้าที่ต้องรับรู้ไว้ทั้งหมด ทั้งรูปดีและรูปไม่ดี จะเลือกแบ่งรูปแต่ส่วนที่ดี ที่ใจชอบอย่างเดียวไม่ได้ แต่มีความรู้สึกชอบไม่ชอบ ไม่มีความฉลาดรู้เท่าทันว่าดีหรือชั่ว ส่วนปัญญานั้น รู้เท่าทันว่า
  • ขันธ์ 5 นั้นเป็นทุกข์ ความอยากนั้นเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ดับความอยากเสียได้ ก็ดับความทุกข์ได้ มรรคมีองค์ 8 เป็นทางแห่งการดับทุกข์
  • อัธยาศัยที่มัวเมาในกาม, อยากเป็นนั่นเป็นนี่ โดยความไม่รู้เท่า เป็นอาสวะ ดับความหลงนี้ โดยมรรคมีองค์ 8
  • รู้เท่าทันว่า สังขารทั้งหมดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
  • เราจะมีเพียงสมาธิเท่านั้นยังไม่พอ เพราะสมาธิระงับกิเลสได้ชั่วคราว เฉพาะเวลาที่สมาธิเกิดขึ้นเท่านั้น ถ้าจะเปรียบเป็นเพียง ยารักษาโรคชั่วคราว หรือเปรียบเสมือน เอาก้อนหินทับหญ้าไว้ พอยกก้อนหินขึ้น หญ้าได้น้ำ ได้ฝน ก็งอกงามขึ้นอีกอย่างเดิม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น